วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อะลูมิเนียม



                เป็นโลหะชนิดหนึ่งที่มีน้ำหนักเบา  ไม่เป็นสนิม  จัดทำรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย  มักนำมาทำภาชนะเครื่องใช้  เช่น  หม้อ  กระทะ  ทัพพี  ถาด  ขันน้ำ  

วิธีดูแลรักษา

 -   ใช้ฝอยขัดหม้อหรือแผ่นขัด  ขัดให้สะอาด  แล้วล้างด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ ห้ามใช้สารเคมีที่เป็นกรดอย่างเข้มข้นขัด

-    รอยไหม้บนอะลูมิเนียม  ห้ามใช้ไม้หรือเหล็กแคะ  ให้ต้มด้วยน้ำผสมเกลือให้เดือด  รอยไหม้จะกะเทาะออกไปเอง  หรือใช้ฝอยขัดหม้อขัด  แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

การเก็บรักษา

            เมื่อทำความสะอาดแล้ว  ใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง  เก็บไว้ในตู้เก็บภาชนะเครื่องใช้


               
        

เครื่องเงิน



เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะเงิน  เช่น  ชุดน้ำชา  ขันเงิน  พาน  โดยธรรมชาติของเครื่องเงิน  ถ้าถูกอากาศจะเกิดปฏิกิริยา  ทำให้เครื่องเงินหมองคล้ำ  

การดูแลรักษา

-      ใช้แล้วเก็บใส่ถุงพลาสติกทันที

-       ล้างด้วยน้ำยาขัดเงินโดยเฉพาะ  หรือน้ำมะนาวผสมสบู่  ขัดให้สะอาด แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

-    ใช้น้ำอุ่นผสมสบู่ล้าง  แล้วขัดให้สะอาด

-    ห้ามใช้ใยขัดโลหะ  หรือฝอยขัดหม้อขัดเครื่องเงิน  เพราะอาจทำให้เป็นรอยขีดข่วน  และสึกหรอได้

การเก็บรักษา
           
               เครื่องเงินที่นำมาใช้ เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่ถุง  ใส่กล่อง  แล้วนำเก็บเข้าตู้ไม่ให้ถูกอากาศ




เหล็ก


                    เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก  เช่น  มีด  จอบ  เสียม  และอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านอื่น   

วิธีดูแลรักษา  

-       ใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องมือ  เช่น  มีดสำหรับสับเนื้อ  ไม่ควรนำไปฟันไม้  เป็นต้น

-      หลังจากใช้แล้วรีบทำความสะอาดทันที  โดยใช้น้ำสบู่ล้างออกจนสะอาด  หากสกปรกมากให้ใช้ฝอยขัดหรือแปรงขัด  แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด  เช็ดให้แห้ง

-     ควรทาน้ำมันเคลือบเป็นครั้งคราวเพื่อป้องกันสนิม

-     อย่าปล่อยให้เครื่องใช้ที่เป็นเหล็กถูกน้ำนาน ๆ หรือแช่น้ำนาน ๆ เพราะจะทำให้เป็นสนิม  ถ้ามีสนิมขึ้น  ให้ใช้ฝอยขัดสนิมให้หมด  เช็ดให้แห้ง  ใช้น้ำมันทากันสนิม แล้วเก็บเข้าที่

การเก็บรักษา
       
               เครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก  เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่ซอง  ปลอก  หรือเก็บไว้ในตู้ที่มิดชิด  ไม่วางไว้ในที่ลมพัดผ่าน  เพราะความชื้นจะทำให้เกิดสนิม


การถนอมอาหารโดยการเชื่อม



การเชื่อมและการกวนเป็นวิธีถนอมอาหาร โดยอาศัยสารน้ำตาลป้องกันไม่ให้อาหารนั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงบูดเน่าเสียหาย

การถนอมอาหารโดยการเชื่อม 3 วิธี ดังนี้ 

1.การเชื่อมแบบธรรมดา อาจเคี่ยวจนน้ำเชื่อมข้นเหนียว น้ำเชื่อมแทรกซึมเข้าในเนื้อของสิ่งที่เชื่อมแล้วใช้น้ำเชื่อมที่เหลือแช่หล่อไว้อีกชั้นหนึ่ง เช่น กล้วยเชื่อม สาเกเชื่อม ลูกตาลเชื่อม ขนุนเชื่อม เป็นต้น หรืออาจเคี่ยวต่อไปจนน้ำเชื่อมแก่จัด เมื่อเย็นลงจะแห้งและแข็งตัว
2. การถนอมอาหารด้วยการแช่อิ่ม  เป็นการถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาลปริมาณมาก คือ นำอาหารมาแช่ในน้ำเชื่อม และเปลี่ยนเพิ่มความเข้มข้นจนถึงจุดอิ่มตัวแล้วนำมาทำแห้ง มักใช้กับผลไม้ที่มีรสขม รสขื่น หรือรสเปรี้ยวจัด ทำให้สิ่งนั้นรสจืดลงเสียก่อนโดยวิธีต่าง ๆ เช่น แช่น้ำเกลือ แช่น้ำปูน แช่สารส้ม เป็นต้น  ผลไม้ที่นิยมนำมาแช่อิ่ม เช่น มะม่วง มะขาม มะกอก มะยม เป็นต้น
3.การฉาบ เป็นการนำเอาผักหรือผลไม้ที่ทำสุกแล้ว เช่น เผือกทอด มันทอด กล้วยทอด เป็นต้น วิธีฉาบคือเคี่ยวน้ำตาลให้เป็นน้ำเชื่อมแก่จัดจนเป็นเกล็ด แล้วเทลงผสมคลุกเคล้ากับของที่ทอดไว้ ทิ้งไว้ให้เย็นจนน้ำเชื่อมเกาะเป็นเกล็ดติดอยู่บนผิวอาหารที่ฉาบ






การถนอมอาหารโดยการดอง



การถนอมอาหารโดยการดอง โดยใช้จุลินทรีย์บางชนิดที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยจุลินทร์ทรีย์นั้นจะสร้างสารบางอย่างขึ้นมาในอาหาร ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตัวอื่นๆได้ ดังนั้นผลของการหมักดองจะทำให้อาหารปลอดภัยจากจุลินทร์ทรีย์ชนิดอื่นๆ และยังทำให้เกิดอาหารชนิดใหม่ๆที่มีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม เป็นการเพิ่มกลิ่น และรสชาติของอาหารให้แปลกออกไป

การถนอมอาหารโดยการดองมีหลายวิธีดังนี้

1. การดองเปรี้ยว ผักที่นิยมนำมาดอง เช่น ผักกาดเขียว กะหล่ำปลี ผักเสี้ยน ถั่วงอก เป็นต้น วิธีทำคือนำเอาผักมาเคล้ากับเกลือ โดยผสมน้ำเกลือกบน้ำส้มต้มให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น นำมาเทราดลงบนผักที่เรียงไว้ในภาชนะ เทให้ท่วมผักปิดฝาภาชนะไม่ให้ลมเข้า หมักทิ้งไว้ 4-7 วัน ก็นำมารับประทานได้

2.การดอง 3 รส คือ รสเปรี้ยว เค็ม หวาน ผักที่นิยมดองแบบนี้คือ ขิงดอง กระเทียมสด ผักกาดเขียน การดองชนิดนี้คือ นำเอาผักมาเคล้ากับเกลือแล้วผสมน้ำส้ม น้ำตาล เกลือ ต้มให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำมาเทราดลงบนผักปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน ก็นำมารับประทานได้

3.การดองหวาน ผักและผลไม้ที่นิยมนำมาดอง เช่น มะละกอ หัวผักกาด กะหล่ำปลี เป็นต้น โดยต้มน้ำตาล น้ำส้มสายชู เกลือ ให้ออกรสหวานนำให้เดือดทิ้งไว้ให้เย็น เทราดลงบนผักผลไม้ ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก็นำมารับประทานได้

4.การดองเค็ม อาหารที่นิยมส่วนใหญ่จะเป็นพวกเนื้อสัตว์และผัก เช่น ปูเค็ม ปลาเค็ม กะปิ หัวผักกาดเค็ม ไข่เค็ม เป็นต้น ต้มน้ำส้มสายชูและเกลือให้ออกรสเค็มจัดเล็กน้อยให้เดือดทิ้งไว้ให้เย็น กรองใส่ภาชนะที่จะบรรจุอาหารดอง แล้วหมักทิ้งไว้ 4-9 เดือนจึงนำมารับประทาน

5.การหมักดองที่ทำให้เกิดแอลกอฮอล์ คือการหมักอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โดยใช้ยีสต์เป็นตัวช่วยให้เกิดแอลกอฮอล์ เช่น ข้าวหมาก ไวน์ เป็นต้น

การถนอมอาหารโดยตากแห้ง



การถนอมอาหารโดยตากแห้งเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดมากที่สุด ใช้ได้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ เป็นวิธีที่ทำให้อาหารหมดความชื้นหรือมีความชื้นอยู่เพียงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้จุลินทรีย์สามารถเกาะอาศัยและเจริญเติบโตได้ ทำให้อาหารไม่เกิดการบูดเน่า โดยการนำน้ำหรือความชื้นออกจากอาหารให้มากที่สุด เช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กล้วยตาก เป็นต้น                                                                                        
ก่อนตากแห้งจะต้องล้างให้สะอาด ถ้าเป็นพวกผักมักลวกด้วยน้ำเดือดเสียก่อน ทำให้หยุดยั้งปฏิกิริยาเคมี บางรายนิยมนำเอาผลไม้ไปรมควันกำมะถันอ่อน ๆ ก่อนที่จะตากแห้ง ซึ่งจะช่วยให้มีสีและรสดีขึ้น ทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดรสเปรี้ยวและช่วยกันไม่ให้แมลงกัดกินอีกด้วย อาหารที่นิยมถนอมโดยการตากแห้ง มักเป็นประเภทผัก ผลไม้ และเนื้อ เช่น ดีปลี พริก (พริกไทย) เห็ดบางชนิด (เช่น เห็ดแครงที่ขึ้นตามต้นไม้มะขามที่ล้มตาย เป็นต้น) หมากแห้ง (ฝานก่อนตาม) กล้วยตาก (กล้วยสุกปอกเปลือกแล้วตากแห้ง) ลูกหยี (ปอกเปลือกแล้วตากแห้ง) ส้มแขก (ผลไม้ชนิดหนึ่ง ผลกลม หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วตากแห้ง ใช้ในการปรุงอาหาร) เนื้อเค็ม ปลาเค็ม เป็นต้น
การตากแห้งอาหารประเภทเนื้อ มักใช้เกลือช่วยเพื่อกันการบูดเน่า และช่วยให้มีรสชาติดีขึ้น เช่น หอยตาก (หอยน้ำจืดชนิดหนึ่งคล้ายหอยแครงแต่ขนาดเล็กว่า ชอบอยู่ในทะเลสาบ อาจลวกให้สุกด้วยน้ำเกลือที่ร้อนจัด หรือคลุกเกลือแล้วตากแดด โดยมากนิยมใช้วิธีหลังจึงเรียกหอยชนิดนี้ตามกรรมวิธีที่นิยมนั้นว่าหอยตาก) ปลาริ้ว (ปลาช่อนตัวโต ๆ ที่นำมาผ่าเป็นริ้ว ๆ แล้วตากแห้ง) ปลาแห้ง (ปลาเกลือ) เนื้อแห้ง (เนื้อเค็ม) เคย (กะปิ) บางชนิดต้มให้สุกเสียก่อนแล้วนำมาตากแห้ง เช่น สารกุ้ง (กุ้งแห้ง) ข้าวเกรียบกุ้ง ข้าวเกรียบปลา เป็นต้น


ดอกทานตะวัน




ทานตะวัน มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า บัวผัด (ภาคเหนือ) เป็นพืชปีเดียว (Annual plant) อยู่ในแฟมิลี Asteraceae มีฐานรองกลุ่มดอก (Inflorescence) ขนาดใหญ่ ลำต้นโตได้สูงถึง 3 เมตร ฐานรองกลีบดอกอาจกว้างได้ถึง 30 เซนติเมตร ชื่อ"ทานตะวัน"ถูกใช้อ้างอิงถึงพืชทั้งหมดในจีนัส Helianthus ด้วยเช่นกัน
ทานตะวัน เป็นพืชท้องถิ่นของอเมริกากลาง มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีการปลูกดอกทานตะวันในประเทศเม็กซิโกตั้งแต่ประมาณ 2600 ปีก่อนคริสตกาล

ตำนานดอกทานตะวัน
ในเทพนิยายกรีกมีนางไม้ชื่อ Clytie ที่หลงรักเทพอพอลโล ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้เฝ้ามองอพอลโลทุกวันจนผมสีทองของเธอกลายเป็นกลีบดอกสีเหลืองและใบหน้ากลายเป็นดอกทานตะวัน ชื่อ Helianthus มาจากคำว่า helios ที่แปลว่าดวงอาทิตย์ กับคำว่า anthos ที่แปลว่า ดอกไม้ ที่งดงามมาก

การเข้ามาของดอกทานตะวันในประเทศไทย
ดอกทานตะวันเข้ามาในประเทศในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวฝรั่งเศสนำมาปลูก

ลักษณะนิสัยของคนที่ชอบดอกทานตะวันที่สุด
               เป็นคนเชื่อมั่นในตัวเองมาก และถือดีในความรู้ความสามารถของตนไม่น้อย ชอบพึ่งพาตัวเองมากกว่าคนอื่น เป็นคนตั้งเป้าหมายในชีวิตสูง

การใช้ประโยชน์
 -ทานตะวันเป็นพืชให้น้ำมันโดยสกัดจากเมล็ด น้ำมันดอกทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงสามารถนำไปใช้ในการฟอกหนังและประกอบอาหาร                                                                                                                                                                  -ทานตะวันเป็นพืชที่มีบทบาทมากในการฟื้นฟูดิน ตัวอย่างเช่น ทานตะวันสะสมตะกั่วได้ 0.86 mg/kg เมื่อเลี้ยงแบบไฮโดรโพนิกส์ และส่งเสริมการย่อยสลายคาร์โบฟูรานได้ 46.71 mg/kg